วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

2. ความเชื่อ

คนไทยเราไม่ว่าจะอยู่ภาคไหน พื้นที่ใด ล้วนมีความผูกพันกับเรื่องความเชื่อมาช้านาน เช่น เชื่อเรื่องโชคลาง เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม และการดำรงชีวิตตลอดจนถึงการประกอบอาชีพ เช่น การทำนานั้นก็มีความเชื่ออยู่เช่นกัน ผู้จัดทำรายงานจึงได้ศึกษาความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในตำราการทำขวัญข้าว โดยจะแบ่งประเภทของความเชื่อเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
2. ความเชื่อพื้นบ้าน

2.1 ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธนั้นมีความเชื่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หมั่นทำความดีจะได้ขึ้นสวรรค์ ถ้าทำความชั่วจะตกนรก” และความเชื่ออันเนื่องมาจากศาสนาย่อมมีผลไปถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ในสังคม และเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมด้วย ในตำราการทำขวัญข้าว แม้จะไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแต่ก็สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องพระพุทธศาสนาที่เข้ามามีบทบาทและผูกพันกับวิถีชีวิตที่ฝังรากลึกและแนบแน่น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดพิธีกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์จะมีบทสวดหรือการกล่าวอ้างถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ การบูชาพระรัตนตรัย การอัญเชิญพระอรหันต์ ร่วมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ด้วยเสมอ เช่น
ความเชื่อพิธีกรรมการนำข้าวลงจากลอม

... ถ้าจะทำขวัญข้าวจะผูกข้าวเอาผ้าขาวโบกแปดทิศ ให้ว่า มา ๆ แม่มาๆ เจ้ามาๆ สัมมาๆ ชัมมาๆ อย่าด้วยข้าอย่าไคลอย่าคลา อย่า ไปจากจากข้าอย่าคลาจากห้อง อยู่ในพระคลังกูสั่งอย่าลืม อยู่แม่อยู่ๆ พุทธังรัตตะนัง ทำมะรัตตะนัง สังคะรัตตะนัง เมื่อผูกแล้วให้เอาพุดซ้อน ๑ ใบขวัญข้าว ๑ ห่อนางสีดา ๑ ชตอก ๑ หลัมนางกอง ๑ ยาทั้งนี้เครียวฟั่นประกอบลอมข้าวแล...

การทำขวัญข้าว: บทเชิญ

... ทำขวัญข้าว ณ เรือนห้องคลัง ว่าดังนี้แล้ววันนี้วันสาภวันดี แต่งสำรับบายศรี ขอถวายแก่เทวดาทั้งหลาย ทั้งพระนารายณ์พรพุทธขิเนก เอกพระพุทธขินาย พระกัจจายเถนพระบริเมนสวน ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดา...


2.2 ความเชื่อพื้นบ้าน

ความเชื่อพื้นบ้านนั้นเป็นความเชื่อที่มีปรากฏในท้องถิ่นต่างๆ และความเชื่อบางอย่างได้มีการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง “ลักษณะที่เห็นเด่นชัดของความเชื่อพื้นบ้าน คือการที่คนเชื่อถือโดยมิได้อ้างระบบเหตุผลเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้มิได้หมายความว่าความเชื่อพื้นบ้านเป็นความเชื่อที่ขาดเหตุผล หากเราวิเคราะห์หาเหตุผลเบื้องหลังเราอาจจะพบเหตุผลที่แฝงเร้นอยู่” เช่น ห้ามพูดจาเวลาหาบข้าวขึ้นลอม แต่ถ้าศึกษาดูแม้เพียงจากสามัญสำนึกก็จะเห็นว่าหากหยุดพูดคุยระหว่างทางในการขนข้าวขึ้นลอมจะทำให้เสียเวลาและเหนื่อยมากขึ้น เป็นการประหยัดพลังงานนั่นเอง จากการศึกษาตำราการทำขวัญข้าวพบว่า ในตำรามีความเชื่อพื้นบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเรื่องเคล็ดข้อห้ามต่างๆ ดังจำแนกประเภทได้ดังนี้

2.2.1 ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์
2.1 ความเชื่อเรื่องดิถีฤกษ์
ความเชื่อทางโหราศาสตร์เรื่องเดียวที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม ความเชื่อเรื่องดิถีฤกษ์ของคนไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ การจะทำการมงคล จะต้องมีการดูฤกษ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อกำหนดวันเวลาที่เหมาะแก่การประกอบพิธีมงคลนั้นๆ โดยไม่รีบด่วน เป็นการพิจารณาดูวัน เวลา สถานที่ บุคคล และสิ่งของเครื่องประกอบการทั้งหลาย โดยถี่ถ้วนว่าไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง เรียกว่า “ฤกษ์ดี” แต่ถ้าเห็นว่ามีอะไรบางอย่าง หรือหลายอย่างยังไม่พร้อมเรียกว่า “ฤกษ์ไม่ดี” ในตำราการทำขวัญข้าว ได้กล่าวถึงการดูดิถีฤกษ์ไว้ว่า

ความเชื่อเรื่องดิถีฤกษ์:ก่อนแรกไถ

...ถ้าจะแรกไถนาให้แลกวัน ๑ แรกหว่านข้าวให้แรกวัน ๖ เมื่อแรกเก็บให้เก็บวัน ๗ ถ้าจะตกกล้าให้ตกวัน ๕ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๖ ถ้าจะให้แรกดูเคียว ถ้าจะเอาข้าวขึ้นเรือนขึ้นยุ้งในวัน ๒ วัน ๗ เมื่อแรกพันไถ ณ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๔ เมื่อแรกข้าวไถ ณ วัน ๑...

ความเชื่อเรื่องดิถีฤกษ์:ก่อนแรกหว่าน

...โอมสารพัดสวาหาย ๓ ที อันนี้แรกเอาปลูกลงนาลงไร่เดือนขึ้นค่ำ ๑ เดือนลิบรองรอง แมงลีบลีบแมงลีบลองลีบ รองแมงลีบ ลีบ แมงรวง
แรม ลีบลีบ รวงรวง ลีบ รวง ลีบแมงลีบ รวงลีบลีบ ลีบแมงรวงรวงรวง
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕…

2.2.2 ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
- ความเชื่อเรื่องคาถาอาคม
ความเชื่อประเภทเวทมนตร์คาถานั้นมีอยู่ควบคู่กับการการดำรงชีวิตของชาวบ้านแถบนี้มาตั้งแต่ในอดีต การศึกษาตำราการทำขวัญข้าวจากหนังสืบุดพบว่า มีการใช้ คาถาประกอบในการทำนาเกือบทุกขั้นตอน คาถาแต่ละคาถามีการปรากฏตามระยะการทำนาในแต่ละช่วงแตกต่างกัน บางช่วงของการทำนามีการใช้คาถากำกับเพียงคาถาเดียว แต่ก็มีบางช่วงที่มีการใช้คาถาร่วมกันหลายขนาน โดยการบันทึกจะไม่ปรากฏชื่อคาถา มีทั้งบันทึกเป็นอักษรไทยและอักษรขอม โดยเชื่อกันว่า หากใช้คาถาอาคม การใช้ยันต์ หรือการลงอักขระต่างๆ จะทำให้การทำนานั้นประสบผลสำเร็จ แมลง สัตว์ต่างๆ ไม่รบกวนไร่นา ไร่นาได้รับการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น คาถาที่ปรากฏในตำราการทำขวัญข้าว จะปรากฏทั้ง ในบทบริกรรมและยันต์ต่างๆ ได้แก่

การใช้คาถาอาคมลงเลขยันต์
การทำขวัญข้าว

...นะสีสะนาโคอะปัดโยคยะสุขคะสัมปัด คาถานี้ ๓ คาบแล้วย่างมาเข้ามาให้ถึงที่ผูกขวัญข้าว มารับพะยัง ๆ ๓ คาบ กุมต้นข้าวจึงว่าคาถานี้ มะอะอุพรหมมานี้มา ๆ นางโพสีมาแม่มา หังหุหังโคอับ ปะมาโนสามทีมาๆ อาคัดฉาหิ ...

การผูกเลียงข้าว

...เมื่อจะเก็บจะหยิบเลียง พุทธะรักสาอะหังโคยะ อุไสยกะชีวามาจุติมา ๆ นี้คาถานี้บริกำเมื่อทูนขวัญข้าวมาเรือน พุท ทัง สัง มาถึงเรือนผูกตัวอู เก็บ ๔ เลียงมาด้วยเอาเป็นคู่ขวัญข้าวขึ้นเรือน...

การลงอักขระ
ความเชื่อพิธีกรรมการเสี่ยงทางความงอกของเมล็ดข้าว

... ให้เอาข้าว ๗ พันธุ์ให้ตวงเท่ากัน แล้วเอาผ้าขาวห่อไว้ คนแห่งแล้วเอาผ้าขาวดัดเพดาน แล้วเอาด้ายสายสิญจน์วงไว้แล้วเอาน้ำมันจอก ๑ เทียนเล่ม ๑ ...แล้วเอา อะอะอะ ยันต์นี้ลงหินฝน อะอะอะ แล้วจึงเอา อะ ตัวนี้เสกหน้าหินแล้วจึงเอาน้ำมัน ล้างยันต์หน้าหินนี้แล เอาคนการด้วยข้าวปลูก ให้ทำสามวันครั้นถึง ๓ วันจึงดูข้าว ถ้าข้าวได้มากให้เอาข้าวนั้นเป็นต้น…

2.2.3 ความเชื่อเรื่องการทำบัตรพลี
ตามตำรามีการกล่าวถึงการบูชาแม่โพสพ เทพยดา หลายองค์ รวมทั้งภูมิเจ้าที่ สะท้อนความเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีสิงศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์รักษาอยู่ การกระทำการใดๆ ต้องมีความนอบน้อม ให้ความเคารพ มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดโทษการทำไร่นาไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการเซ่นสรวง บูชา ซึ่งทำให้ทั้งเทพยาดาและแม่โพสพพอใจ และจะอำนวยพร รวมทั้งปกปักรักษาให้การทำนาได้รับผลผลิตที่ดี ตัวอย่างดังนี้

การทำบัตรพลีก่อนการหว่านข้าว

...ตูข้าตกแต่งย้อมเครื่องตระการ เสร็จจงมาอย่านาน มาเอาเครื่องสังเวย เหล่าข้าวถั่วงาสุกดิบสาพลา ขนมนมเนย โทกเทียนชวาลา ข้าวตอกดอกไม้ ข้ายอมแต่งมา โภชนาอาหาร ขอเชิญท้าวท่านๆ กรุงพาลีมาเอาสังเวย...

2.2.4 ความเชื่อเรื่องของมีค่าร่วมทำพิธี
การนำของมีค่าคือทองร่วมในพิธีกรรมนั้นเป็นการไหว้หรือบูชาครู และเทพยาดา เพราะเชื่อว่าการนำของมีค่าร่วมพิธีเป็นการแสดงความยกย่อง เทิดทูน และจะทำให้เกิดความพอใจ จะส่งผลทำให้พิธีกรรมมีประสิทธิภาพ และอานุภาพมากยิ่งขึ้น ความเชื่อเรื่องทองในพิธีการทำขวัญข้าว มีปรากฏ ดังนี้

การทำขวัญข้าว: อุปกรณ์ในพิธีกรรมการทำขวัญข้าว

...จึงตั้งกำแพงแล้วอาคมอัญเชิญขวัญแม่เอย มาชมเครื่องข้าวหนม ข้าวเหนียวสังเหว้ย กะทินมเนย ข้าวขวัญทำขวัญทำ.... มาชมแก้วแหวน อันงามประไพ หัวแหวนสุกใส เครื่องทองรองรับ...

2.2.5 ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะเรื่องเทพเจ้าเทวดา ตลอดจนถึงภูตผีปีศาจต่างๆ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ซึ่งเป็นเทพยดาของศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อเหล่านี้ก็มีปรากฏอยู่ในตำราการทำขวัญข้าว ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในตำราการทำขวัญข้าวฉบับนี้ได้กล่าวถึงเทพยาดาท้องถิ่น เช่น พระแม่โพสพ แม่โพสี บริถิ้ว พระพุทธขิเนก พระพุทธขินาย สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อว่าสรรพสิ่งมีเทพยาดารักษาอยู่ การที่จะทำนาให้ได้ผลนั้นจะต้อง บอกกล่าว บูชา และอัญเชิญเทพยดาต่างๆ เพื่อให้อนุญาตและปกปักรักษา รวมทั้งคุ้มครองให้การทำไร่นาได้รับผลดี
ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและเทวดาเทพเจ้าและเทวดาที่ปรากฏในตำราการทำขวัญข้าวได้แก่
1. พระพรหม 2. นางโพสี 3. นางไสยสี 4. ภูมิเจ้าที่ 5. ท้าวกรุงพาลี 6. นางโภควดี 7. นางธรณี 8. พระสารีบุตร 9. พระนารายณ์ 10. พระพุทธขิเนก 11. พระพุทธขินาย 12. พระกัจจายเถน 13. พระบริเมนสวน 14. คนธรรพ 15. พระพาย 16. พระอังคาร เช่น

การแรกหว่านข้าว

…เอายันต์นี้กับข้าวกระโทง ๑ น้ำกระโทง ๑ ข้าวเจ็ดเมล็ดแล้วเอาดินปักลงแล้ว นางโภควดี นางธร ณีกรุงพาลี บริถิ้วตั้งหมาก ๓ คำฝาก..... ให้ตั้งข้าวแกบริถิ้วกรุงพาลีนางธรณี มหาลาภมหาไชยไหว้เจ้าที่ทั้งนั้น…

การทำขวัญข้าว: บทเชิญ
... ว่าดังนี้แล้ววันนี้วันสาภวันดี แต่งสำรับบายศรี ขอถวายแก่เทวดาทั้งหลาย ทั้งพระนารายณ์พรพุทธขิเนก เอกพระพุทธขินาย พระกัจจายเถนพระบริเมนสวน ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดา…

2.2.6 ความเชื่อเรื่องเคล็ดและข้อห้าม
มีปรากฏเพียงเรื่องเดียวคือในช่วงการนำข้าวจากทุ่งนาขึ้นยุ้งหรือลอมข้าวห้ามเจรจากับใครเพราะเชื่อว่าหากเจรจาแม่โพสพจะไม่พอใจและหนีหายไปไม่คุ้มครองข้าวในยุ้งฉางหรือในลอม สิ่งที่ตามมาคือจะถูกนก หนู มอด ปลวก สัตว์ต่างๆ กัดกินทำลายให้ได้รับความเสียหาย

การนำข้าวขึ้นเรือน

...พุทธะรัตตะนังธรรมะรัตตะนัง สังคะรัตตะ รัดข้าวมาคือเชียกอุเชือกผูกแล้วฉีกข้าว ๙ รวงแล้วเก็บเก้าเลียงน้อยๆคู่ขวัญข้าวนั้นมาแล้ว วามะๆ คุมถึงเรือนอย่าเจรจาเหลย ...

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Sands Casino & Hotel - SEGATAS
Sands Casino & septcasino Hotel is a new and exciting casino with a new addition, that is where the casino begins. A luxurious, AAA-quality งานออนไลน์ resort is set 카지노